ศิลปะการแสดงของอินโดนีเซีย


 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หากมองเรื่องของนาฏศิลป์และศิลปะการแสดงแล้ว อินโดนีเซียเป็นประเทศหนึ่งที่มีวัฒนธรรมทางการแสดงอันเก่าแก่และมีลักษณะโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ของตนโดยมีพื้นฐานของวัฒนธรรมมุสลิมและฮินดูปรากฏอยู่เด่นชัดในศิลปะการแสดงของอินโดนีเซีย    ศิลปะการแสดงที่เป็นเอกลักษณ์เด่นชัดของอินโดนีเซียและยังคงเป็นศิลปะประจำชาติที่เก่าแก่ที่สุดก็คือ ศิลปะการเชิดหนังหรือเชิดหุ่นภาษาชวาเรียกว่า วายัง” (Wayang)หรือเรียกเต็มชื่อว่าวายัง ปูร์วา”( Wayang Purwa) “วายังแปลว่า เงา” ส่วนปูร์วาแปลว่าความเก่าแก่รวมกันจึงหมายถึงความเก่าแก่แห่งศิลปะการเชิดตัวหุ่นที่ทำจากหนังให้เกิดเป็นภาพเงาบนจอผ้า ในปัจจุบันคำว่าวายังมีความหมายทั่วไปว่าการแสดง


ความเป็นมาของวายัง
นักวิชาการมีความเห็นแตกต่างกัน3แนวทางคือ
กลุ่มแรก ยืนยันว่าวายังเป็นศิลปะการแสดงของท้องถิ่นชวามาแต่โบราณ มีกำเนิดบนเกาะชวาเนื่องมาจากประเพณีของคนท้องถิ่นซึ่งนับถือสิ่งศักด์สิทธิ์และบูชาบรรพบุรุษนั่นเอง หลักฐานที่ใช้สนับสนุนของกลุ่มนี้มีหลายประการ กล่าวคือ ภาษาและคำศัพท์เฉพาะทางเทคนิคการแสดงเป็นภาษาชวาโบราณ ประเพณีการชมละครวายังที่เก่าแก่ยังคงเห็นปฏิบัติกันอยู่ทั่วไป กล่าวคือ บริเวณที่นั่งของผู้ชมฝ่ายชายอยู่คนละด้านของฝ่ายหญิง ผู้ชมฝ่ายชายนิยมนั่งด้านเดียวกับผู้เชิดหนังเพราะเป็นด้านที่ชมการแสดงได้สนุกกว่าด้านที่เห็นเงา ฝ่ายหญิงถูกกำหนดที่นั่งให้อยู่ด้านตรงข้ามกับผู้ชายเหตุผลอีกประการหนึ่งคือ วายังเป็นการแสดงที่แปลกแตกต่างและโดดเด่นจากการแสดงอื่นๆ ทั้งหมดในเอเชียจึงน่าจะเชื่อได้ว่าศิลปะการแสดงวายังเป็นสมบัติทางวัฒนธรรมของอินโดนีเซียอย่างแท้จริง

กลุ่มที่สอง เชื่อว่าศิลปะการเชิดหนังนี้ได้รับอิทธิพลมาจากอินเดีย เพราะอินเดียมีการแสดงเชิดหนังและเชิดหุ่นมาตั้งแต่สมัยโบราณ วัฒนธรรมอินเดียเจริญและเก่าแก่กว่าชวา ประวัติศาสตร์ยุคโบราณของชวาได้เห็นการแผ่ขยายอารยธรรมอินเดียเป็นระยะเวลาหลายร้อยปี ด้วยเหตุนี้ ชวาจึงน่าที่จะเป็นฝ่ายรับการแสดงวายังจากอินเดีย นอกจากนี้ตัวละครตลกในวายังของชวาที่ชื่อ ซีมาร์ 
( Semar) มีลักษณะที่ละม้ายคล้ายคลึงกับตัวตลกอินเดีย ที่ปรากฏในละครสันสกฤตอันโด่งดังของอินเดียสมัยคริสต์ศตวรรษที่3-8

กลุ่มที่สาม สนับสนุนความคิดที่ว่า การเชิดหนังและหุ่นชนิดต่างๆน่าที่มาจากประเทศจีนเพราะชนชาติจีนรู้จักศิลปะประเภทนี้มานานกว่า2000ปีแล้วโดยมีหลักฐานบันทึกเรื่องราวใน121 ปีก่อนคริสต์ศักราชว่า จักรพรรดิองค์หนึ่งในราชวงค์ฮั่นทรงโปรดให้ทำพิธีเข้าทรงเรียกวิญญาณนางสนมคนโปรดของพระองค์ การทำพิธีเช่นนี้อาศัยเทคนิคการเชิดหนังนั่นเอง
      แม้ไม่มีข้อยุติที่แน่ชัดว่า จริงๆแล้ววายังของชวามาจากไหน และได้รับอิทธิพลจากจีนหรืออินเดียวหรือไม่ก็ตาม แต่สิ่งที่น่าจะสันนิษฐานได้ก็คือ ในสังคมแบบชาวเกาะซึ่งนับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในธรรมชาติ และมีประเพณีบูชาบรรพบุรุษเช่นเดียวกับสังคมโบราณในประเทศเอเชียทั้งหลายการแสดงเชิดหนังและเชิดหุ่นกระบอกเป็นศิลปะที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติอยู่แล้วในสิ่งแวดล้อมของสังคมดังกล่าวความสัมพันธ์ของวายังกันพิธีกรรมทางศาสนาย่อมแยกกันไม่ออก เงาต่างๆที่เกิดขึ้นเปรียบเสมือนดวงวิญญาณของบรรพบุรุษที่ศิลปินผู้เชิดบันดาลให้เกิดขึ้น คนโบราณนิยมประกอบพิธีเรียกวิญญาณบรรพบุรุษในงานมงคลต่างๆ เช่น งานแต่งงาน เพื่อนให้วิญญาณของบรรพบุรุษได้มารับรู้เป็นสักขีพยานการแสดงวายังจึงเป็นศิลปะการแสดงที่มีวามขลังและศักดิ์สิทธิ์ดุจพิธีกรรมทางศาสนา การทำพิธีนี้เป็นที่ยอมรับในสังคม การเชิดหนังวายังจึงถูกนำมาใช้โดยบุคคลสำคัญซึ่งทำตนเป็นสื่อกลางรับจ้างอัญเชิญวิญญาณ รวมทั้งการแสดงเรื่องราวที่เกี่ยวกับปรัชญาและศีลธรรมอีกด้วย มีผู้สันนิษฐานว่าคำว่า วายัง” มีวิวัฒนาการมาจากคำเก่าของชวา คือ วาห์โย” ซึ่งแปลว่า การปรากฎ
ให้เห็นซึ่งการดลใจทางวิญญาณ

ชนิดของวายัง
       การแสดงเชิดหุ่นเงาหรือวายัง ปูร์วาฉบับดั้งเดิมใช้หุ่นเชิดที่ทำด้วยหนังสัตว์ จึงเรียกอีกชื่อว่า วายัง กูลิต” (Wayang Gulit) ซึ่งหมายถึง การเชิดหนังเพราะกูลิตแปลว่าหนังสัตว์ วายัง กูลิตนี้เป็นศิลปะการแสดงที่งดงามและวิจิตรกว่าการแสดงชนิดอื่นทั้งหมด การแสดงนี้รวมศิลปะหลายด้านไว้ด้วยกัน อาทิ ด้านการประพันธ์บทละคร การดนตรี นาฎกรรม ศิลปกรรม ทั้งยังสะท้อนความลึกซึ้งในเชิงประวัติศาสตร์ การศึกษา ปรัชญาศาสนาความลึกลับและสัญลักษญ์ในการตีความหมาย
นอกจากวายัง กูลิตแล้วยังมีการแสดงวายังในรูปแบบอื่นอีกหลายชนิด ได้แก่
1. วายัง เบเบร์ (Wayang Beber) เป็นการแสดงที่เก่าแก่พอๆกับวายัง กูลิต หรืออาจจะเก่าแก่กว่าด้วยซ้ำ เป็นการแสดงวายังชนิดที่ทดลองแรกสุด เบเบร์แปลว่าคลี่ตัว วิธีแสดงใช้วิธีคลี่ม้วนกระดาษหรือผ้าซึ่งเขียนรูปต่างๆ จากลายสลักบนกำแพงในโบสถ์หรือวิหาร ภาพวาดเหล่นนี้ผ่านตาผู้ชมไปเรื่อยๆเหมือนดูภาพการ์ตูน ปัจจุบันวายัง เบเบร์ไม่ได้รับความนิยมแล้วเพราะเทคนิคการแสดงไม่มีชีวิตชีวาและไม่ดึงูดผู้ชมเท่าวายัง กูลิต
2. วายัง เกอโด๊ก (Wayang Gedog) เป็นการแสดงที่พัฒนามาจากวายัง กูลิต ตัวหุ่นของวายัง เกอโด๊กทำจากหนังสัตว์เช่นกัน นิยมแสดงเรื่องราวของเจ้าชายปันหยี (อิเหนา) ซึ่งมีชีวิตอยู่ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 12 และเรื่องราวของกษัตริย์ชวาภายใต้ อารยธรรมมุสลิมผู้ที่ริเริ่มสร้างสสรค์การแสดงวายัง เกอโด๊ก เป็นนักบุญมุสลิมท่านหนึ่งซึ่งมีชีวิตในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 16
3. วายัง โกเล็ก (Wayang Golek) พัฒนามาจากวายัง กูลิต เช่นเดียวกัน หากแต่มีจุดประสงค์เพื่อจัดแสดงได้ในเวลากลางวันโดยไต้องอาศัยความมืดกับตะเกียง ตัวหุ่นของวายัง โกเล็กจึงมีลักษณะเป็นหุ่นตุ๊กตา 3 มิติ ทำจากไม้แกะสลัก ส่วนศรีษะของหุ่นทาสีสดใสสวยงาม ลำตัวหุ่นซึ่งทำจากไม้เช่นเดียวกันมีแค่เอว จากเอวลงไปใช้ผ้าบาติกคลุมลงให้ยาวเสมือนสวมเครื่องแต่งกายหรือกระโปรงกรอมเท้า ภายในผ้านี้มีที่จับตัวหุ่น ดังนั้นเวลาเชิดจะไม่เห็นมือผู้เชิด ไหล่และข้อศอกตัวหุ่นขยับได้โดยใช้วิธีเชื่อมกับก้านไม้ยาวๆสำหรับกระตุกให้เคลื่อนไหวได้ เนื้อเรื่องที่แสดงกล่าวถึงเรื่องราวของนักรบผู้กล้าหาญของต้นราชวงศ์ชาวมุสลิมในหมู่เกาะชวา ผู้ที่คิดสร้างวายัง โกเล็ก คนแรกเป็นนักบุญมุสลิมเช่นกัน ซึ่งมีชีวิตอยู่ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 ปัจจุบันการแสดงวายัง โกเล็ก ยังคงได้รับความนิยมในภาคกลางและภาคตะวันตกของเกาะชวา
4. วายัง กลิติก (Wayang Klitik) หมายถึง วายังขนาดเล็กและบาง ตัวหุ่นทำจากไม้แต่มีขนาดเล็กและบางกว่าวายัง โกเล็กมาก ส่วนแขนทำด้วยหนังสัตว์เชื่อมต่อกับส่วนลำตัวให้ดูกลมกลืนกัน ตัวหุ่นสูงประมาณ 10 นิ้ว เวลาเชิดหันด้านข้างเหมือนกับวายัง กูลิต เรื่องราวที่แสดงกล่าวถึงสมัยที่ศูนย์กลางแห่งอารยธรรมฮินดูเสื่อมลงและในที่สุดผู้บุกรุกชาวมุสลิมก็เข้ามาครอบครองในช่วง คริสต์ศตวรรษที่ 16 เป็นการแสดงที่มุ่งสรรเสริญความยิ่งใหญ่ของชาวมุสลิม
วายัง กลิติก ยังมีอีกรูปแบบหนึ่งคือ เป็นการแสดงหุ่นดีบุกซึ่งตัวขนาดเล็กเท่านิ้วคนตั้งไว้บนโต๊ะกระจกและทำให้เคลื่อนไหวโดยการใช้แม่เหล็กลากไปใต้กระจก แขนของหุ่นเหล่านี้เคลื่อนไหวได้ วายัง กลิติกชนิดนี้สร้างขึ้นสำหรับเด็ก
5. วายัง มัดยา (Wayang Madya) เป็นการแสดงตามแบบฉบับของอินโดนีเซีย เล่าเรื่องราวของชาวอาหรับและวรรณคดีต่างชาติในเอเชีย รวมทั้งเรื่องราวของบุคลต่างๆที่เกี่ยวข้องกับพระศาสดามุฮัมมัด 


Wayang Kulit
     เป็นรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์ของโรงละครจ้างแสงและเงา หุ่นกระบอกที่มีการสร้างขึ้นมาจากบัฟฟาโลซ่อนและติดตั้งบนไม้ไผ่ เมื่อขึ้นมาด้านหลังของชิ้นส่วนของผ้าขาวที่มีหลอดไฟฟ้าหรือโคมไฟน้ำมันเป็นแหล่งกำเนิดแสงที่ถูกโยนเงาบนหน้าจอ
      ชวา Wayang kulit หรือ Wayang purwa (เล่นหุ่นเงา) เป็นหนึ่งในรูปแบบละครที่ยิ่งใหญ่ของภาคตะวันออก ด้านบนและเกินค่าของมันเป็นความบันเทิงที่ยอดเยี่ยมก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะชวาเป็นพิธีที่ : มันให้หมายถึงการติดต่อกับวิญญาณบรรพบุรุษและสร้างบรรยากาศของความสงบและความสมดุล; มันเป็นความหมายของการให้ความรู้เยาวชนในภูมิปัญญาของ วัฒนธรรมและมีการจ้างพนักงานเป็นกรอบของการอ้างอิงแนวคิดปรัชญาและความลึกลับที่เกี่ยวข้องกับลึกลับวินั  
         วายังกูลิต  เป็นการแสดงที่ใช้หุ่นทีมีความสวยงา เป็นการแสดงที่รวมศิลปะทุกแขนงเข้าด้วยกัน
ต้นกำเนิดการเล่นวายังไม่มีหลักบานที่แน่ว่ามาจากที่ใดกันแน่  อย่างไรก็ตามรูปแบบหนังของชาวชวามีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง  จึงน่าจะเป็นหนังเงาที่ไม่ได้รับอิทธิพลมาจากที่ใด  พิธีกรรมที่เกี่ยวกับการแสดงหนังตะลุงชวานั้น  ส่วนหนึ่งจะเกี่ยวกับพิธีกรรมเรื่องเกษตรกรรมด้วย  เรื่องที่แสดงส่วนหนึ่งเป็นเรื่องของชาวชวาซึ่งเป็นเกี่ยวกับมนุษย์  สัตว์  หรือเรื่องเชิงความฝัน  และอีกส่วนหนึ่งมาจากมหากาพย์อินเดียคือ  เรื่องรามายณะ  และเรื่องมหาภารตะ


        
        ตัวหนังหรือตัวหุ่นที่ใช้เชิด ส่วนใหญ่แล้วตัวหนังวายัง กูลิต ทำจากหนังควาย ตัวหนังที่มีคุณภาพดีที่สุดต้องทำจากหนังลูกควาย เพราะสะอาดปราศจากไขมันจะทำให้สีที่ทาติดทนดี 
        วิธีการทำตัวหนังนั้น จะต้องนำหนังลูกควายมาเจียน แล้วฉลุเป็นรูปร่างและลวดลาย ใบหน้าของตัวหนังหันด้านข้าง ลำตัวหัน ลักษณะเฉียง ส่วนเท้าหันด้านข้างทิศทางเดียวกันกับใบหน้าของตัวหนัง 


วิธีทำหุ่นวายังกุลิต








Photobucket

          
            ผู้ที่แสดง (ผู้เชิด)  เรียกว่าดาหลัง  ซึ่งต้องมีการร่ำเรียนก่อนที่จะแสดง  ดาหลังมีทั้งดาหลังที่เป็นคนในวังและดาหลังที่เป็นชาวบ้าน  และส่วนมากจะเป็นการสืบทอดโดยสายตระกูล
            จอหนังของหนังวายังทำจากผ้าสีขาวขนาดประมาณ  10 X 5  ฟุต  มีไม้ไผ่ตีเป็นกรอบ  มีตะเกียงแขวนไว้ด้านใน  มีต้นกล้วยวางไว้ในจอเพื่อปักตัวหนังโดยต้นใหญ่ไว้ปักตัวหนังสำคัญ  ส่วนต้นเล็ก  ปักตัวหนังที่ไม่สำคัญ  ตัวหนังพิเศษในการแสดงได้แก่ตัวหนังที่แกะเป็นรูปภูเขา  เรียกว่า  กุหนุงอัน  นอกจากนี้ยังมีตัวหนังเป็นรูปสัตว์ต่างๆ  รูปอาวุธ  รูปกองทัพ  รูปที่มีการต่อสู้ที่ติดพันกัน  และรูปทหารในลักษณะต่างๆ
            การแสดงเริ่มจากปักกุหนุงไว้กลางจอ  เพื่อบอกให้รู้ว่าจะมีการแสดงวายังนับจากนี้จนถึงรุ่งเช้า  เมื่อเริ่มแสดงก็จะนำเอากุหนุงออกจากหน้าจอหนังและเริ่มแสดง  และเมื่อแสดงเสร็จนายหนัง(ดาหลัง)  ก็จะปักกุหนุงที่ต้นกล้วยในตำแหน่งกลางจออีกครั้งเพื่อให้ทราบว่าจบการแสดงวายังแล้ว
















ข้อมูลที่น่าสนใจ
http://en.wikipedia.org/wiki/Wayang

4 ความคิดเห็น:

  1. ขอบคุณที่แบ่งปันความรู้ดี ๆ นะคะ :)

    ตอบลบ
  2. ขอบคุณสำหรับข้อมูล ประเทศ อินโดนีเซีย อยากไปเที่ยวบาหลี ด้วยตัวเองซักครั้ง
    หลังจากได้ดูวิดีโอนี้ แล้วอยากไปมากยิ่งขึ้น

    https://www.youtube.com/watch?v=FbLBJLga0pw

    ตอบลบ
  3. การเเสดงหนังคนเป็นวายังลักษณะเเบบไหนหรอค่ะ

    ตอบลบ
  4. JAMCO - The Star Casino Hotel Maryland
    The 구미 출장샵 Star Casino Hotel Maryland. 777 S Flamingo 광명 출장안마 Way, Baltimore, MD 20714. (410) 751-7388. Find 성남 출장마사지 out 구미 출장샵 more. 충주 출장샵 Email Formats and Phone number.

    ตอบลบ